คณิตศาสตร์ ม.3 ทักษะ กระบวนการในการแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสาร สื่อความหมาย

ทักษะ กระบวนการในการแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสาร สื่อความหมาย

กระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ทำเป็นขั้น ๆ ได้ดังนี้
ขั้นที่ 1 ทำความเข้าใจปัญหา
ขั้นที่ 2 วางแผนการแก้ปัญหา
ขั้นที่ 3 ดำเนินการตามแผน
ขั้นที่ 4 ตรวจสอบผล

กระบวนการแก้ปัญหา

ตัวอย่าง ผลบวกของจำนวนคู่สามจำนวนเรียงกันมีค่าเป็น 168 จงหาจำนวนกลาง
วิธีทำ ก่อนอื่นทำความเข้าใจโจทย์ก่อน ซึ่งก็คือให้จำนวนคู่สามจำนวนเรียงกันแล้วบวกกันได้ 168 จะแก้ปัญหายังไงละ เอาแบบนี้ดีกว่า ให้จำนวนคู่สามจำนวนเรียงกันคิดเป็น a, a + 2, a + 4 และผลบวกของทั้งสามจำนวนได้เท่ากับ 168
ดังนั้น a + (a + 2) + (a + 4) = 168
ดังนั้น a = 54
จะได้ 54 + 56 + 58 = 168 ฉะนั้นค่ากลางก็คือ 56

กระบวนการในด้านการให้เหตุผล

กระบวนการให้เหตุผลมีอยู่ 2 แบบ คือ

1. การให้เหตุผลแบบอุปนัย เป็นกระบวนการพิจารณาจากข้อมูลที่กำหนดให้ แล้วสรุปเป็นข้อความคาดการณ์ เช่น มีข้อมูลชุดหนึ่งเรียงกันเป็น 1, 2, 3, 4, 5 เราอาจสรุปและคาดการณ์ได้ว่าตัวเลขตัวถัดไปต้องเป็น 6, 7, 8

2. การให้เหตุผลแบบนิรนัย เป็นกระบวนการที่แสดงให้เห็นว่า ถ้ายอมรับข้อความกลุ่มหนึ่งว่าเป็นจริงแล้ว ข้อความอื่นก็อาจจะแสดงให้เป็นจริงได้ โดยอ้างเหตุผลจากข้อความเหล่านั้น เช่น รู้สามเหลี่ยมรูปหนึ่ง มีมุมภายในมุมหนึ่งเป็น 20 องศา อีกมุมหนึ่งเป็น 100 องศา ถ้าเรายอมรับว่ามุมภายในของรูปสามเหลี่ยมใด ๆ เท่ากับ 180 องศา แล้วเราก็อาจแสดงให้เห็นว่ามุมอีกมุมหนึ่งต้องเป็น 60 องศาแน่

กระบวนการในด้านการเชื่อมโยง

ในการแก้โจทย์ปัญหานั้น เราอาจจะนำความรู้เรื่องต่าง ๆ มาเชื่อมโยงกันเพื่อที่จะแก้ปัญหาหนึ่ง ๆ ออกมาได้ อย่างเช่น ถ้าต้องการหาพื้นที่แรเงาในรูปวงกลม ที่มีสี่เหลี่ยมอยู่ข้างใน เราอาจจะต้องใช้ความรู้ทั้งเรื่องของวงกลม และสี่เหลี่ยมมาเชื่อมโยงกันเพื่อแก้ปัญหานั้น ๆ ออกมา


comments


เว็บเพื่อนบ้าน
DoesystemDevcodeMathMySelfHowToClicksBlogJavaExample