คณิตศาสตร์ ม.3 การเก็บรวบรวมข้อมูลและการนำเสนอข้อมูล

การเก็บรวบรวมข้อมูลและการนำเสนอข้อมูล

ข้อมูล หมายถึง ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ที่เราสนใจที่จะศึกษา ข้อมูลอาจเป็นตัวเลขหรือข้อความซึ่งได้มาจากการเก็บรวบรวมโดยวิธีใด ๆ ก็ได้ เช่น โดยการสัมภาษณ์ โดยการนับ โดยการลงทะเบียน หรือโดยการคัดลอกข้อมูลที่มีผู้เก็บรวบรวมไว้แล้ว เราจำแนกข้อมูลได้ดังนี้
- ข้อมูลเชิงประมาณ คือ ข้อมูลที่เป็นตัวเลขที่ใช้แสดงปริมาณของสิ่งต่าง ๆ ที่ทำการศึกษา ซึ่งวัดออกมาเป็นจำนวนที่สามารถนำไปคำนวณ หรือเปรียบเทียบได้ เช่น อายุ ความสูง น้ำหนัก คะแนน
- ข้อมูลเชิงคุณภาพ คือ ข้อมูลที่ใช้อธิบายลักษณะ สมบัติ หรือสภาวการณ์ของสิ่งต่าง ๆ ที่ทำการศึกษาในเชิงคุณภาพ เช่น เพศ ความเห็น ความเชื่อ ความสวย

นำเสนอข้อมูล

การนำเสนอข้อมูล เป็นการนำเสนอข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาจากแหล่งต่าง ๆ ซึ่งยังไม่เป็นระบบ มาจัดเป็นหมวดหมู่ให้มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันตามวัตถุประสงค์ เพื่อสะดวกแก่การอ่านทำความเข้าใจ การวิเคราะห์ และแปลความหมายเพื่อประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันต่อไป โดยแบ่งเป็น 2 แบบใหญ่ ๆ คือ
- การนำเสนอแบบมีแผน เป็นการนำเสนอข้อมูลที่มีกฎเกณฑ์
- การนำเสนอแบบไม่มีแบบแผน เป็นการนำเสนอข้อมูลที่ไม่มีกฎเกณฑ์

การนำเสนอข้อมูลในรูปตาราง

การนำเสนอข้อมูลในรูปตาราง คือ การจัดข้อมูลให้เป็นระเบียบดูง่ายขึ้นในรูปตารางดังตัวอย่าง

ตัวอย่าง มีนักเรียน 20 คน มีอายุดังนี้
13, 14, 16, 15, 13, 14, 16, 15, 13, 14, 17, 15, 15, 14, 16, 15, 15, 16, 14, 13

เราสามารถนำเสนอข้อมูลในรูปแบบตาราง ได้ดังนี้

อายุ(ปี) จำนวนนักเรียน(ปี)
13 4
14 5
15 6
16 4
17 1

การนำเสนอข้อมูลด้วยแผนภูมิรูปภาพ

การนำเสนอข้อมูลแบบนี้ เป็นการนำเสนอข้อมูลโดยใช้รูปภาพแทนจำนวนข้อมูลที่นำเสนอ เพื่อเร้าความสนใจแก่บุคคลทั่วไป
การนำเสนอข้อมูลแบบนี้ มีข้อบกพร่อง คือ ถ้ารูปภาพแต่ละรูปแทนจำนวนมาก ๆ จะทำให้คลาดเคลื่อนจากข้อมูลจริงมากด้วย

ตัวอย่าง จงเขียนแผนภูมิรูปภาพแสดงจำนวนนิสิตของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งปี 2530 ดังนี้
นิสิตปีที่ 1 จำนวน 350 คน
นิสิตปีที่ 2 จำนวน 270 คน
นิสิตปีที่ 2 จำนวน 400 คน
นิสิตปีที่ 4 จำนวน 550 คน

เราสามารถนำเสนอข้อมูลในรูปแบบแผนภูมิรูปภาพ ได้ดังนี้

ชั้นปีที่ จำนวนนิสิต
ปีที่ 1 แผนภูมิรูปภาพแผนภูมิรูปภาพแผนภูมิรูปภาพแผนภูมิรูปภาพ
ปีที่ 2 แผนภูมิรูปภาพแผนภูมิรูปภาพแผนภูมิรูปภาพ
ปีที่ 3 แผนภูมิรูปภาพแผนภูมิรูปภาพแผนภูมิรูปภาพแผนภูมิรูปภาพ
ปีที่ 4 แผนภูมิรูปภาพแผนภูมิรูปภาพแผนภูมิรูปภาพแผนภูมิรูปภาพแผนภูมิรูปภาพแผนภูมิรูปภาพ
แผนภูมิรูปภาพ แทนนิสิต 100 คน


ข้อสังเกต
1. ใช้รูปภาพแทนจำนวนข้อมูลจริง เช่น รูปภาพคน 1 ภาพแทนจำนวนคน 100 คน หรือ 1,000 คน แล้วแต่ความเหมาะสม
2. ภาพที่ใช้ต้องเป็นภาพที่มีลักษณะสมมาตร คือ เมื่อแบ่งครึ่งแล้ว 2 ข้างเหมือนกัน ทั้งนี้เพื่อสะดวกในการแบ่งภาพตามจำนวนที่ต้องการได้สะดวก
3. ควรใช้แผนภูมิรูปภาพกับข้อมูลที่มีจำนวนมาก และลงตัวเป็นจำนวนเต็มง่าย ๆ
4. ภาพที่ใช้ต้องมีขนาดเดียวกัน เหมือนกันทุกประการ

การนำเสนอข้อมูลด้วยแผนภูมิแท่ง

การนำเสนอข้อมูลด้วยแผนภูมิแท่ง เป็นการนำเสนอข้อมูลโดยใช้รูปสี่เหลี่ยมฉากหลาย ๆ รูปเรียงกันตามแนวตั้ง หรือแนวนอนก็ได้โดยแต่ละรูปมีความกว้างเท่ากัน แต่ความยาวเปลี่ยนแปลงไปตามจำนวนข้อมูล

แผนภูมิแท่งจะนำเสนอข้อมูลได้ละเอียด อ่านง่าย และยังเป็นการเปรียบเทียบข้อมูลได้หลายรายการด้วย

โดยปกตินิยมเขียนจำนวนหรือปริมาณของข้อมูลหนึ่ง ๆ ไว้บนปลายแท่ง เพื่อให้อ่านจำนวนข้อมูลได้ถูกต้อง ดังตัวอย่าง

การนำเสนอข้อมูลด้วยแผนภูมิแท่ง

การนำเสนอข้อมูลด้วยแผนภูมิกงหรือการนำเสนอข้อมูลด้วยแผนรูปวงกลม

การนำเสนอข้อมูลด้วยแผนภูมิกง คือ การนำเสนอข้อมูลโดยใช้วงกลมแสดงปริมาณโดยแบ่งเนื้อที่ของวงกลมเป็นส่วนย่อยสัมพันธ์กับปริมาณ ในแต่ละส่วนย่อยที่แบ่ง นิยมเขียนตัวเลขกำกับไว้และคิดเนื้อที่ของวงกลมเป็น 100% การแบ่งเนื้อที่วงกลมเป็นส่วนย่อย ๆ นั้นจะแบ่งโดยใช้จุดศูนย์กลางเป็นหลัก

หลักการในการนำเสนอข้อมูลด้วยแผนภูมิกง
1. ให้จำนวน 100% เทียบกับมุมที่จุดศูนย์กลาง 360°
2. หรือให้จำนวนผลรวมของปริมาณทั้งหมดที่ต้องการแสดงเท่ากับ 360°
3. เทียบหาว่าปริมาณแต่ละปริมาณหรือจำนวนเปอร์เซ็นย่อย ๆ แต่ละจำนวนเป็นกี่องศาโดยเทียบบัญญัติไตรยางค์
4. ลงปริมาณที่ต้องการแสดงตามองศาที่เทียบได้ในวงกลม

การนำเสนอข้อมูลด้วยแผนรูปวงกลม




comments


เว็บเพื่อนบ้าน
DoesystemDevcodeMathMySelfHowToClicksBlogJavaExample