คณิตศาสตร์ ม.1 ตัวคูณร่วมน้อย

ตัวคูณร่วมน้อยและการนำไปใช้

ตัวคูณร่วมน้อย หรือที่เรียกกันว่า ค.ร.น.(Least Common Multiple : L.C.M.) ของจำนวนนับตั้งแต่สองจำนวนขึ้นไป หมายถึง ตัวตั้งร่วมหรือพหุคูณร่วมที่มีค่าน้อยที่สุดของจำนวนนับเหล่านั้น เช่น

ตัวอย่าง ให้หา ค.ร.น. ของ 2 และ 3 ดังนี้
เราสามารถหาพหุคูณของ 2 ได้เป็น 2, 4, 6, 8, 10, 12, 14, 16, 18, ...
เราสามารถหาพหุคูณของ 3 ได้เป็น 3, 6, 9, 12, 15, 18, 21, 24, 27, ...
จะได้พหุคูณของ 2 และ 3 คือ 6, 12, 18, ...
แต่ที่เราต้องการคือตัวคูณร่วมที่น้อยที่สุด จะเห็นว่า 6 เป็นตัวคูณร่วมของ 2 และ 3 ที่มีค่าน้อยที่สุด

ดังนั้น ค.ร.น. ของ 2 และ 3 ก็คือ 6

การหา ค.ร.น. ของจำนวนนับตั้งแต่สองจำนวนขึ้นไป

หลักการในการหา ค.ร.น. ของจำนวนนับตั้งแต่สองจำนวนขึ้นไปนั้น เป็นการหาตัวตั้งร่วมหรือพหุคูณร่วมที่มีค่าน้อยที่สุดของจำนวนนับเหล่านั้น

ดังนั้น เราจึงอาศัยการหาตัวตั้งร่วมหรือพหุคูณร่วมในการหา ค.ร.น. ของจำนวนนับตั้งแต่สองจำนวนขึ้นไป ได้อย่างน้อย 3 วิธีดังนี้
1. โดยการพิจารณาตัวตั้งร่วมหรือพหุคูณร่วมที่มีค่าน้อยที่สุด
2. โดยการแยกตัวประกอบ
3. โดยการตั้งหาร


comments


เว็บเพื่อนบ้าน
DoesystemDevcodeMathMySelfHowToClicksBlogJavaExample